กล้องโทรทรรศน์ดาราศาสตร์แบบหักเหแสง

โปรแกรมแสดงการทำงานของ กล้องโทรทรรศน์ดาราศาสตร์แบบหักเหแสงหัวกลับ อย่างง่ายที่ประกอบด้วยเลนส์ 2 อัน เรียกว่า เลนส์วัตถุ (objective) และ เลนส์ตา (eyepiece หรือ ocular) รังสีของแสงตกกระทบมาจากด้านซ้ายของเลนซ์วัตถุ แล้วหักเหผ่านเลนส์ทั้งสองไปสู่ตาของผู้สังเกตที่มองผ่านกล้องจากทางด้านขวาไปยังด้านขวาของเลนส์ตา สังเกตเส้นสีแดงไม่ใช่แนวรังสีจริงซึ่งต้องหักเหที่ผิวทั้งสองของเลนส์แต่ละอัน ถ้าความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุ (f1) มากกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์ตา (f2) ภาพที่ได้จะเป็นภาพหัวกลับขนาดใหญ่กว่าวัตถุ

ความยาวโฟกัสของเลนส์สามารถปรับเปลี่ยนได้ตั้งแต่ 0.05 m ถึง 0.5 m โดยใส่ค่าลงในกรอบข้อความ (อย่าลืมกดแป้น "Enter" !) นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนแปลงทิศทางของรังสีได้ด้วยการลากเมาส์ โปรแกรมจะคำนวณค่ามุมระหว่างรังสีของแสงกับเส้นแกนทัศนศาสตร์ทั้งก่อนและหลังจากผ่านเลนส์ทั้งสอง (แสดงด้วยสีน้ำเงินและสีเขียว) รวมทั้งกำลังขยาย โปรแกรมแสดงตัวอย่างวัตถุที่เป็นดาวสว่าง 6 ดวงในกลุ่มดาวลูกไก่ ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า (ด้านล่างซ้าย) และภาพที่เห็นผ่านกล้อง (ล่างขวา)

This browser doesn't support HTML5 canvas!

กำลังขยายของกล้องโทรทรรศน์ดาราศาสตร์แบบหักเหแสง หาได้จากสูตร (ที่มุมเล็กๆ):

v = − f1 / f2

v  ... กำลังขยาย
f1 ... ความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุ
f2 ... ความยาวโฟกัสของเลนส์ตา